ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาอาชีพ มือสมัครเล่น หรือชื่นชอบในการออกกำลังกายเพื่อความสนุกสนาน อาการบาดเจ็บอาจทำให้สะดุด การหยุดพักหรือการทำกายภาพอาจช่วยให้กลับมาลงสนามได้ แต่อาการบาดเจ็บบางอย่าง หากปล่อยทิ้งไว้ ยิ่งทำให้อาการเรื้อรัง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยแนะนำวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้คุณกลับมาเป็นปกติหรือกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าที่เคย ด้วยประสบการณ์การดูแล รักษา นักกีฬาอาชีพและผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามามากกว่า 1,500 ราย
ดูแลรักษานักกีฬาอาชีพและ
ผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
มามากกว่า 1,500 ราย*
ผ่าตัดแบบส่องกล้อง
เพื่อรักษาผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บ
เอ็นและข้อมากกว่า 1,600 ราย*
อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัด
น้อยกว่า 1%
(ค่ามาตรฐานเท่ากับ 2%)
* ข้อมูลปี 2014-2019
ความผิดพลาดของการประเมินผู้ป่วย
ในการผ่าตัดส่องกล้องเท่ากับ 0%
* ข้อมูลจากการผ่าตัดคนไข้ส่องกล้องโรคข้อของรพ.สมิติเวช ปี 2019-2020 จำนวน 499 ราย
ดูแลด้วยผู้เชี่ยวชาญ : แพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ด้านเวชศาสตร์การกีฬา ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ด้านโรคหัวใจ และนักกายภาพบำบัด นักเวชศาสตร์การกีฬาและเทรนเนอร์ส่วนตัว
มากกว่า 95% ของคนที่ผ่าตัดส่องกล้องเข่า / ไหล่ ศอก สามารถกลับบ้านได้ ภายใน 24 / 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เข้าสู่โปรแกรมฟื้นฟู เล่นกีฬา ฝึกความแข็งแรง ได้ภายใน 6 สัปดาห์
* ข้อมูลจากการผ่าตัดคนไข้ส่องกล้องโรคข้อของรพ.สมิติเวช ปี 2019-2020 จำนวน 137 ราย
ไม่เพียงแค่ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ แต่ยังรวมถึงการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ โดยทีม FitLAB จะออกแบบโปรแกรมการทดสอบและประเมินสมรรถภาพของร่างกาย รวมถึงการฝึกฝนร่างกาย สำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้แก่
ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต ลดการใช้งาน รับประทานยา หรือการทำกายภาพบำบัด ใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกฟื้นฟูกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้ส่วนที่บาดเจ็บไม่ได้ อย่างเช่น นักกีฬาอาชีพ หรือผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเป็นประจำ อาจต้องพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เพื่อให้การบาดเจ็บกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว ร่วมกับการฝึกและ เสริมสมรรถภาพร่างกาย ให้กลับมาแข็งแรงเท่าเดิมหรือแข็งแรงกว่าเดิม
การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายให้แข็งแรงและแกร่งมากขึ้นกว่าที่เคย หลังเข้ารับการรักษาแบบผ่าตัดหรือไม่ต้องผ่าตัด ต้องอาศัยประสบการณ์ ในการประเมินสภาพร่างกายและอาการบาดเจ็บของแต่ละคน ความเชี่ยวชาญในการออกแบบและวางแผนโปรแกรมฟื้นฟูเฉพาะบุคคล รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัยจะช่วยให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมา ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้เหมือนเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิม ก่อนเกิดการบาดเจ็บ
เหมาะสำหรับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาของนักกีฬาและผู้ชื่นชอบการออกกำลังกายทั่วไป
เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ 60+ ที่ต้องการออกกำลังกาย แต่กลัวการบาดเจ็บ หรือ มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายประจำและต้องการเข้าร่วมแข่งขันวิ่งระยะไกล
เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจ และผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูหัวใจ